“มองอดีตเป็นบทเรียน” Startup ต้องเผชิญกับอะไรบ้างในปีที่ผ่านมา

รายงานการพัฒนาระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้น ประเทศไทย ประจำปี 2564 ได้นำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจ ซึ่งจะทำให้เห็นภาพรวมของ Startup และปัญหาที่เผชิญใน ปี 2563 ที่ผ่านมา

.

Startup ยอดนิยม

ผลสำรวจ Startup ในไทยจำนวน 100 บริษัท ในปี 2563 ที่จำแนกตามสาขาอุตสาหกรรมพบว่า สาขาการให้บริการทางธุรกิจ (Business Service) ร้อยละ 26.0 รองลงมา คือสาขานวัตกรรมอสังหาริมทรัพย์และเทคโนโลยีเพื่อคนเมือง (Prop Tech &Urban Tech) และสาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกี่ยวกับดนตรี ศิลปะ และนันทนาการ (MAR Tech) ที่มีจำนวนเท่ากันคือ ร้อยละ 11.0

คำคม - บริษัท สังคมดี จำกัด

การก่อตั้ง Startup

ผู้ก่อตั้ง Startup  เป็นกลุ่มคนที่อยู่ในช่วงอายุ 25 – 34 ปี ก่อตั้งขึ้นจากการร่วมกลุ่มเพื่อนในระดับมหาวิทยาลัย หรือเพื่อนที่ทำงานเดิม หรือการพบปะกันในงานทางสังคมซึ่งสนใจทำธุรกิจเหมือนกัน การตัดสินใจเป็น Startup เพราะแลเห็นความสำเร็จทางธุรกิจ และความชอบส่วนตัว อีกสิ่งที่เป็นเกณฑ์ตัดสินใจเป็น Startup คือ (1) ต้นทุนการนำเข้า-ส่งออกสินค้าและบริการ (2) ต้นทุนแรงงาน รวมถึง (3) ทุนทางเครือข่ายในสังคมที่ได้จากเพื่อนที่ทำงานเดิม หรือเพื่อนในระดับมหาวิทยาลัย จาการสำรวจพบว่า Startup ต้องการผู้ร่วมกลุ่มที่มีความรู้ความสามารถ 3 ด้านด้วยกันคือ (1) การพัฒนาเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์  (2) บริหารจัดการธุรกิจ และ (3) การตลาด

.

การระดมทุนของ Startup

Startup ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 70 เคยมีประสบการณ์การระดมทุนมาแล้ว โดยใช้ระยะเวลาในการระดมทุนครั้งแรกหลังเปิดธุรกิจได้ค่อนข้างเร็ว คือ ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ซึ่งส่วนใหญ่บริษัทได้รับเงินทุนมาจากภาคเอกชน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 81.2 มีเพียงร้อยละ 18.8 ที่ได้รับเงินทุนมาจากภาครัฐ โดยจำนวนเงินทุนที่รับส่วนใหญ่มีมูลค่าต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อบริษัท

.

สำหรัับเงิินทุุนรวมทั้้งหมด โดยพิิจารณาตามการแบ่่งตามระดัับการระดมทุุน (Startup Funding Stage) ออกเป็นระดัับต่่าง ๆ ได้้แก่่

 ระดัับที่่ 1: Pre – Seed (จำนวนเงิินในช่วง 3.5 แสนบาท)

 ระดัับที่่ 2: Seed (จำนวนเงิินในช่วงมากกว่่า3.5 แสนบาท – 65 ล้้านบาท)

 ระดัับที่่ 3: Series A (จำนวนเงิินในช่วงมากกว่่า 65 ล้้านบาท – 500 ล้้านบาท)

 ระดัับที่่ 4: Series B (จำนวนเงิินในช่วงมากกว่่า 500 ล้้านบาท – 1 พัันล้้านบาท)

 ระดัับที่่ 5: Series C (จำนวนเงิินในช่วงมากกว่่า 1 พัันล้้านบาทขึ้นไป)

.

พบว่่า จำนวนมากกว่่าครึ่่งของผลสำรวจบริิษััท Startup ทั้้งหมดส่่วนใหญ่่ได้้เงิินทุุนในระดัับ Seed คิิดเป็นร้้อยละ 73.0 รองลงมาได้้เงิินทุุนในระดัับ Series A คิิดเป็นร้้อยละ 15.9 และสุุดท้้ายระดัับ Pre – Seed คิิดเป็นร้้อยละ 6.3 ตามลำดับ

คำคม - บริษัท สังคมดี จำกัด

หากจำแนกตามสาขาอุตสาหกรรมพบว่า ถึงแม้สาขาให้บริการทางธุรกิจ (Business Service) จะเป็นสาขาที่มี Startup จำนวนมากที่สุด แต่สาขาอุตสาหกรรมที่ได้จำนวนเงินทุนมากที่สุดกลับเป็นสาขาเทคโนโลยีีทางด้้านการเงิิน (FinTech) ทำให้เห็นว่า สาขาเทคโนโลยีทางด้านการเงินมีความน่าจับตามอง

.

การตลาดของ Startup

ช่องทางการตลาดของ Startup จะเป็นการทำธุรกิจแบบ B2B (Business to Business) (ร้อยละ 26.7) กับ B2B2C (Business to Business to Customer) การทำธุรกิจระหว่างเจ้าของธุรกิจสู่เจ้าของธุรกิจและเอื้อให้เจ้าของธุรกิจขายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคเป็นการทำธุรกิจที่รวมทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเข้ามาไว้ในแพลตฟอร์มเดียวกัน (ร้อยละ 16.8)

.

เมื่อพิจารณาผลประกอบการหรือรายได้ต่อปี โดยนำรายได้ของบริษัทในแต่ละสาขามารวมกัน พบว่า 3 สาขาที่ทำรายได้มากที่สุดในปี 2562 ที่ผ่านมา ได้แก่ สาขาการให้บริการทางธุรกิจ (Business Service) ที่ทำรายได้มากถึง 1.2 พันล้านบาท สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (IndustryTech) ทำรายได้มากถึง 4.5 ร้อยล้านบาท และสาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกี่ยวกับดนตรี ศิลปะ และนันทนาการ (MAR Tech) ที่ทำรายได้ในปีที่แล้วได้มากถึง 2.8 ร้อยล้านบาท

.

ในทางกลับกัน 3 สาขาธุรกิจที่ทำรายได้น้อยที่สุด ได้แก่ สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษาและภาครัฐ (Education Tech & Government Tech) ที่ทำรายได้เพียงจำนวน 2.3 ล้านบาท สาขาเทคโนโลยีด้านการท่องเที่ยว (TravelTech) ทำรายได้จำนวน 10 ล้านบาท และสาขาเทคโนโลยีด้านการแพทย์ (MedTech) ที่ทำรายได้ในปีที่แล้วจำนวน 13 ล้านบาทเท่านั้น แสดงว่าบริษัทแต่ละรายในผลสำรวจส่วนใหญ่ยังมีรายได้เป็นจำนวนเพียงไม่เกิน 1 ล้านบาทค่อปี ในขณะที่บริษัทที่ทำได้รายได้ต่อปีจำนวนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวนเพียง 4 บริษัท ซึ่งอยู่ใน 3 สาขา ได้แก่ สาขาการให้บริการทางธุรกิจ (Business Service) สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (IndustryTech) และสาขาเทคโนโลยีทางด้านการเงิน (FinTech)

.

การขยายธุรกิจของ Startup

สำหรับแนวคิดการวางแผนที่จะเติบโตของบริษัทในอนาคต ผู้ประกอบการ Startup ร้อยละ 74 ให้ความเห็นว่ายังมีความต้องการจะขยับขยายธุรกิจให้เติบโตขึ้นโดยพยายามขยายฐานลูกค้าที่กว้างมากขึ้นและพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความหลากหลายต่อความต้องการในตลาดมากยิ่งขึ้น

.

ในขณะที่ผู้ประกอบการ Startup ร้อยละ 24 ให้ความเห็นว่า ยังไม่มีความต้องการขยายธุรกิจให้เติบโต เพราะสภาพเศรษฐกิจและผลกระทบจากวิกฤตโรคระบาด โควิด-19 ทำให้ต้องรักษาความสมดุล และประคับประคองบริษัทเอาไว้ก่อน และมีอีกหลายสาขาอุตสาหกรรมที่เสนอว่า อาจไม่ขยายธุรกิจเนื่องจากอาจต้องปิดลงเพราะสภาพเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย

.

การเผชิญกับโควิด-19 ของ Startup

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้ Startup บางสาขาอุตสาหกรรมมีศักยภาพทางธุรกิจที่ถดถอย และต้องชะลอการเติบโตทางธุรกิจ เช่น ธุรกิจประเภทการดนตรี ท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ แต่ในทางตรงข้ามบางสาขาอุตสาหกรรมกลับเป็นช่วงเวลานาทีทองที่ทำให้เขานั้นเติบโตเพราะปรับตัวมาทำธุรกิจออนไลน์มากขึ้น เช่น สามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ได้ และอีกสาขาอุตสาหกรรมที่น่าสนใจและน่าจับตามองคือสายสุขภาพ ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างไร เพราะผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพตนเองมากขึ้น

.

ศึกษาละเอียดเจาะลึกได้จาก : https://bit.ly/3sd5WK4