คำถามที่พบบ่อย

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมมีภารกิจและหน้าที่อย่างไรบ้าง
 สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมรับผิดชอบในงานธุรการ และงานวิชาการของคณะกรรมการ และมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน ให้ความช่วยเหลือ และพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคมและกลุ่มกิจการเพื่อสังคม เพื่อให้มีความเข้มแข็ง และพึ่งพาตนเองได้ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
  1. เสนอนโยบายและแผนการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมแห่งชาติให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม และเสนอแนวทางในการส่งเสริมหรือสนับสนุนด้านสิทธิประโยชน์แก่วิสาหกิจเพื่อสังคม หรือบุคคลซึ่งให้การสนับสนุนกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคม
  2. จัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
  3. ให้คำแนะนำ ฝึกอบรม และส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมให้สามารถพัฒนาการบริหารจัดการในด้านการเงิน การบัญชี การตลาด เทคโนโลยี และด้านอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้า และบริการของวิสาหกิจเพื่อสังคม
  5. ให้คำปรึกษาหรือความช่วยเหลือในการขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคล การขออนุมัติ อนุญาต และการจดทะเบียนสิทธิบัตรเครื่องหมายการค้า หรือทรัพย์สินทางปัญญาอื่น
  6. จัดให้มีมาตราการในการส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มกิจการเพื่อสังคมเพื่อให้สามารถพัฒนาเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมได้ต่อไป
  7. วิเคราะห์สภาพปัญหาและสถานการณ์ อุปสรรค และความสำเร็จของวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศ
  8. เป็นศูนย์กลางข้อมูลเกี่ยวกับวิสาหกิจเพื่อสังคม และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวิสาหกิจเพื่อสังคม
  9. บริหารกองทุน

 วิสาหกิจเพื่อสังคมกับกลุ่มกิจการเพื่อสังคมมีความแตกต่างกันอย่างไร

 วิสาหกิจเพื่อสังคม หมายความว่า บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ส่วน กลุ่มกิจการเพื่อสังคม หมายความว่า บุคคลธรรมดา กลุ่มบุคคล ชุมชน หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย

ซึ่งทั้งสองกิจการดำเนินกิจการเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายสินค้า หรือการบริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมเป็นเป้าหมายหลักของกิจการ และได้รับการจดแจ้งเป็นกลุ่มกิจการเพื่อสังคม และการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม  

 


 

  กิจการที่จะจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมอย่างไรบ้าง

  กิจการที่จะจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมเป็นเป้าหมายหลักของกิจการ ดังต่อไปนี้

  1. มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมการจ้างงานแก่บุคคลผู้สมควรได้รับการส่งเสริมเป็นพิเศษ การแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อม หรือเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอื่นหรือคืนประโยชน์ให้แก่สังคมตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
  2. มีรายได้น้อยกว่าร้อยละห้าสิบมาจากการจำหน่ายสินค้าหรือการบริการ เว้นแต่กิจการที่ไม่ประสงค์จะแบ่งปันกำไรให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นอาจมีรายได้น้อยกว่าร้อยละห้าสิบมาจากการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
  3. นำผลกำไรไม่น้อยกว่าร้อยละเจ็ดสิบไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ตาม (1) และแบ่งปันกำไรให้แก่ผู้เป็นเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละสามสิบของผลกำไรทั้งหมด โดยให้ถือว่าการลงทุนในกิจการของตนเองซึ่งมีกระบวนการผลิตหรือการบริการที่มีลักษณะตาม (1) หรือการขยายกิจการเพื่อวัตถุประสงค์ตาม (1) ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนดเป็นการนำผลกำไรไปใช้เพื่อสังคม
  4. มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  5. ไม่เคยถูกเพิกถอนการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม เว้นแต่พ้นกำหนดสองปีนับถึงวันยื่นคำขอจดทะเบียนเพื่อขอรับการส่งเสริมหรือสนับสนุนตามพระราชบัญญัตินี้
  6. ไม่มีหุ้นส่วน กรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคล หรือผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าขึ้นไป ซึ่งเคยเป็นหุ้นส่วน กรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคล หรือผู้ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละยี่สิบหน้าขึ้นไป ในกิจการที่เคยถูกเพิกถอนการจดทะเบียนตาม (5) เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้ส่วนร่วมหรือรู้เห็นกับการกระทำของนิติบุคคลที่เป็นเหตุให้ถูกเพิกถอนการจดทะเบียน  

  กิจการที่จะจดแจ้งกลุ่มกิจการเพื่อสังคมต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมอย่างไรบ้าง

  กิจการที่มีสิทธิยื่นคำขอจดแจ้งเป็นกลุ่มกิจการเพื่อสังคมต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อสังคม เป็นเป้าหมายหลักของกิจการ และต้องมีลักษณะดังนี้

  1. มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจ้างงานแก่บุคคลผู้สมควรได้รับการส่งเสริมเป็นพิเศษ การแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม
  2.  เป็นกิจการที่มีรายได้จากการจำหน่ายสินค้า หรือการบริการ
  3. เป็นกิจการที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

 


 กิจการที่จะจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมต้องมีเอกสารประกอบการจดทะเบียนอย่างไรบ้าง

  กิจการใดประสงค์จะเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมให้ยื่นคำขอจดทะเบียนต่อสำนักงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบที่สำนักงานประกาศกำหนด โดยคำขอต้องประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้

  1. ชื่อกิจการและที่ตั้งของนิติบุคคล
  2. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
  3. มติของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ข้อตกลงของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน หรือมติของคณะกรรมการของนิติบุคคล
  4.  ชื่อและที่อยู่ของผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล
  5.  หนังสือบริคณห์สนธิ
  6.  หนังสือแสดงเจตนารมณ์การจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคมและรายละเอียดของกิจการ ซึ่งดำเนินกิจการมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี
  7.  ความประสงค์ที่จะจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมตามมาตรา 6 (1) หรือ (2)
  8. รายการอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

 การกำกับดูแลกิจการที่ดีของวิสาหกิจเพื่อสังคมเป็นอย่างไร

 การกำกับดูแลกิจการที่ดีของวิสาหกิจเพื่อสังคม อย่างน้อยต้องประกอบด้วยดังนี้

  1. มีนโยบายต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบและมีการดำเนินการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการประพฤติมิชอบ หรือการติดสินบทใด ๆ
  2. มีการดำเนินการเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามที่กฎหมาย หลักเกณฑ์ หลักปฏิบัติ หรือแนวทางที่เกี่ยวข้องกำหนด ซึ่งรวมถึงการจัดประชุมคณะกรรมการ การจัดประชุมผู้ถือหุ้นการสอบบัญชี การเสียภาษีอย่างถูกต้อง
  3. มีระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม มีการบริหารงานที่สุจริต โปร่งใส และเชื่อถือได้
  4. มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกิจการ รายงานผลการดำเนินงาน และรายงานทางการเงินที่ถูกต้องและเพียงพอ แก่สาธารณชนอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี

 กรณีใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด วิสาหกิจเพื่อสังคมควรทำอย่างไร

 ในกรณีที่ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้วิสาหกิจเพื่อสังคมยื่นคำขอรับใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนดังกล่าวต่อนายทะเบียนภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่ได้ทราบการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดดังกล่าว การยื่นคำขอดังกล่าวให้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พร้อมหลักฐาน ดังนี้

1. ต้นฉบับหลักฐานการแจ้งความเอกสารสูญหาย กรณีใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสูญหาย

2. ใบแสดงการจดทะเบียนถูกทำลาย หรือชำรุด ในสาระสำคัญ

3. รายการอื่นที่กำหนดในแบบคำขอ

เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอ ให้พิจารณาคำขอดังกล่าว หากพบว่าหลักฐานเอกสารต่าง ๆ ถูกต้องครบถ้วน ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนนั้นได้สูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้เจ้าหน้าที่ทำใบแสดงสำคัญการจดทะเบียนวิสาหกิจเพื่อสังคมเสนอให้นายทะเบียนลงนาม เพื่อมอบให้แก่ผู้ยื่นคำขอใบแทน

กรณีที่คำขอ เอกสาร หรือหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน เมื่อเจ้าหน้าที่แจ้งให้วิสาหกิจเพื่อสังคมผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไข หรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมให้ถูกต้องและครบถ้วน หากไม่มีการดำเนินการภายใน 15 วัน ทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ให้ถือว่าวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ยื่นคำขอไม่ประสงค์จะดำเนินการตามคำขอนั้นต่อไป และให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ ก่อนรับใบแทนใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ให้ผู้ยื่นคำขอชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ 100 บาท  


 วิสาหกิจเพื่อสังคมต้องการเปลี่ยนแปลงประเภทควรทำอย่างไร

 กรณีวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ประสงค์จะแบ่งปันกำไรให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นตามมาตรา 6 (2) มีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงประเภทของวิสาหกิจเพื่อสังคมเป็นประเภทที่ไม่ประสงค์จะแบ่งปันกำไรให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นตามมาตรา 6 (1) ให้ยื่นคำขอตามแบบท้ายประกาศนี้ ต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยสามารถดำเนินการได้นับตั้งแต่จด

ทะเบียนและมีผลทันทีเมื่อได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงประเภท แต่มีเงื่อนไขว่าเมื่อได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงประเภทวิสาหกิจเพื่อสังคมแล้ว ต้องไม่มีการจ่ายเงินปันผลแม้กำไรนั้นจะเกิดขึ้นก่อนการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมประเภทไม่ประสงค์จะแบ่งปันกำไรแล้วก็ตาม พร้อมหลักฐานประกอบพิจารณา กรณีที่เป็นสำเนาเอกสารประกอบคำขอทุกฉบับต้องลงชื่อรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน สามารถศึกษาได้จากลิ้งก์นี้ https://www.osep.or.th/wp-content/uploads/2021/03/หลักเกณฑ์-วิธีการ-และเงื่อนไข-การเปลี่ยนแปลงประเภท.pdf

 


สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมมีภารกิจและหน้าที่อย่างไรบ้าง

  วิสาหกิจเพื่อสังคมอาจได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน ดังต่อไปนี้

1. ความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนตามมาตรา 48 (1) (2) และ (5)

2. สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร

3. สิทธิประโยชน์ตามมาตรการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

4. สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายอื่น


การจดทะเบียนวิสาหกิจเพื่อสังคมมีกี่ประเภท 

 สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) ให้บริการ “จดทะเบียนวิสาหกิจเพื่อสังคม” และ “จดแจ้งกลุ่มกิจการเพื่อสังคม” ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้
1. การจดทะเบียนเป็น “วิสาหกิจเพื่อสังคม” (บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายไทย ซึ่งดำเนินกิจการเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายสินค้า หรือการบริการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสังคมเป็นเป้าหมายหลักของกิจการ) โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

1.1 ประเภทไม่ประสงค์จะแบ่งปันกำไรให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น (จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล)

1.2 ประเภทประสงค์แบ่งปันกำไรให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น (ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล)

2. การจดแจ้งเป็น “กลุ่มกิจการเพื่อสังคม” (บุคคลธรรมดา กลุ่มบุคคล ชุมชน หรือนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งดำเนินกิจการเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายสินค้า หรือการบริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมเป็นเป้าหมายหลักของกิจการ)


กิจการสามารถยื่นขอจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมได้เมื่อใด

 การขอจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ต้องมีระยะเวลาการดำเนินกิจการ ตามวัตถุประสงค์เพื่อสังคมเป็นเป้าหมายหลักของกิจการ มาแล้วอย่างน้อย 1 ปี


SE ต่างกับ CSR อย่างไร

  วิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เป็นธุรกิจที่มีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนา ช่วยเหลือ หรือแก้ไขปัญหาสังคมหรือสิ่งแวดล้อม โดยการแสวงหารายได้ สร้างผลกำไร เพื่อให้ธุรกิจสามารถยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง


การจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านใดบ้าง


1. การสนับสนุนด้านการเงินจากกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
2. สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
2.1 วิสาหกิจเพื่อสังคมประเภท ไม่ประสงค์แบ่งปันกำไรแก่ผู้ถือหุ้น จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
2.2 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ผู้บริจาคเงินหรือทรัพย์สิน หรือลงทุนในหุ้นสามัญของวิสาหกิจเพื่อสังคม สามารถนำไปหักรายจ่ายได้
3. สิทธิประโยชน์ตามมาตราการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ
4. สิทธิประโยชน์ด้านการระดมทุน (วิสาหกิจเพื่อสังคมในรูปแบบบริษัทจำกัดสามารถออกและเสนอขายหุ้นต่อประชาชนได้ โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตและแบบแสดงรายการข้อมูลต่อ ก.ล.ต.)
5. รับการส่งเสริมด้านการตลาด ผลิตภัณฑ์ นวัตกรรม และเทคโนโลยี


การจดแจ้งเป็นกลุ่มกิจการเพื่อสังคม ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านใดบ้าง

   ได้รับการส่งเสริม จาก สวส. ในการประกอบกิจการอย่างครบวงจร รวมถึงการให้การสนับสนุนในการจัดตั้ง ให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิต การใช้เทคโนโลยี การบริหารงานบุคคล การเงิน การบัญชี การตลาด และการบริหารจัดการธุรกิจในด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถพัฒนาเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมได้ต่อไป