สังคมไทยน่าจะสนใจและสนับสนุนบทบาทของนิติบุคคลพันธุ์ใหม่มากขึ้น ได้รับรู้ว่าแตกต่างจากกิจการธุรกิจทั่วไปซึ่งผลิตสินค้าและบริการ ที่มุ่งสร้างรายได้และทำกำไรสูงสุดเป็นเป้าหมาย แต่กิจการประเภทใหม่ที่ว่านี้ มีความโดดเด่นตั้งแต่การระบุคุณลักษณะชัดเจนว่า “กิจการเพื่อสังคม” หรือ”ธุรกิจเพื่อสังคม” ปัจจุบันมีชื่อเป็นทางการว่า “วิสาหกิจเพื่อสังคม”หรือ Social Enterprise (SE)

0

ภาพจาก : https://pixabay.com

ทั้งนี้รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนด้วยการออกพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ.2562 โดยกำหนดคำนิยามไว้ว่า

“วิสาหกิจเพื่อสังคม” หมายถึง บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งดำเนินกิจการเกี่ยวกับ การผลิต การจำหน่ายสินค้า หรือการบริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสังคมเป็นเป้าหมายหลักของกิจการ และเป็นกิจการที่ได้รับการจดทะเบียนตามพ.ร.บ.นี้

ขณะเดียวกันอาจเป็น”กลุ่มกิจการเพื่อสังคม” ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคล ชุมชน หรือนิติบุคคล ที่จัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ตามคุณสมบัติข้างต้นก็ได้

วิสาหกิจเพื่อสังคม จึงต้องการผู้บริหารที่ “ดีและเก่ง” ดำเนินธุรกิจอย่างมีกลยุทธ์ แต่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อแก้ปัญหาสังคม หรือส่งเสริมสิ่งแวดล้อมและมุ่งสนับลนุนการจ้างงานคนในท้องถิ่นเป็นหลัก

คนทำธุรกิจแบบนี้เรียกว่าผู้ประกอบการสังคม ( Social Entrepreneur) ที่มีจิตสำนึกใฝ่ดี มุ่งมั่นผลักดันกิจการให้ไปดีด้วยหลักธรรมาภิบาล และมิได้มุ่งสร้างกำไรสูงสุด

กำไรที่เกิดขึ้นไม่น้อยกว่า 70% จะนำมาลงทุนในกิจการ หรือใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร ผู้ยากจน คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาส

0

ภาพจาก : https://pixabay.com

0

วิสาหกิจเพื่อสังคม สามารถช่วยภาครัฐในการแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงเป็นกลไกที่รัฐบาลหลายประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ เป็นต้น เห็นความสำคัญ มีทั้งนโยบายและเงินกองทุนสนับสนุนให้ SE มีความเข้มแข็ง

น่ายินดีที่ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐหลายแห่ง ได้ออกมาตรการสนับสนุนการดำเนินงานของ SE

กรมสรรพากร มีประกาศให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่กิจการ SE ที่ได้รับการจดทะเบียนจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.)

* ผู้ลงทุนในหุ้นของกิจการ SE บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้ SE สามารถหักเป็นค่าใช้จ่ายได้

*กรณี SE ประเภทไม่จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น กิจการ SE นั้นจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

ก.ล.ต. ออกประกาศให้กิจการ SE ที่ผ่านการจดทะเบียนรับรอง สามารถระดมทุนเสนอขายหุ้นต่อประชาชนได้ โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตจากก.ล.ต.ตามปกติ

ขณะที่ระดับบริหารรัฐบาลมีจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมแห่งชาติ และปริญญ์ พานิชภักดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจทันสมัย ได้มีบทบาทท่าทีสนับสนุนการพัฒนา SE อย่างเต็มที่

0

ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) ภาพจาก : https://www.osep.or.th

0

มีการจัดงานใหญ่หลายครั้ง เช่น”ติดปีกให้ SE วิสาหกิจเพื่อสังคม” โดยเชิญชวนให้คนรุ่นใหม่ที่ประกอบการ SE หรือเป็นStart- up แนว SE โดยมีหลายหน่วยงานภาครัฐและธุรกิจเอกชนชั้นนำไปร่วมงาน มีการ แลกเปลี่ยนความเห็นและรับฟังปัญหาอุปสรรค เพื่อให้หลายภาคส่วนร่วมกันหาแนวทางการช่วยเหลือต่อไป

กิจกรรมล่าสุดคือ”ติดอาวุธให้SE” ซึ่งจัดโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม(สวส.) งานนี้สรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ไปเป็นประธานเปิดงาน

0

ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล ภาพจาก : https://www.osep.or.th

0

ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล นายกสมาคมธุรกิจเพื่อสังคม ( Social Enterprise Thailand Association ) รับเชิญขึ้นเวทีได้กล่าวถึงข้อมูลเบื้องต้นในการสำรวจสถานการณ์ธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย ยืนยันว่าว่าแนวโน้มมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะช่วง 3 ปีที่ผ่านมา(2561- 2563) มี SE เกิดขึ้นมากกว่า 10 ปีก่อนหน้าถึง 2 เท่า

“แนวโน้มการเกิดใหม่ของ SE เป็นเรื่องดีมาก เพราะผมเชื่อว่า หากมี SE เกิดขึ้นและเติบโตได้มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมในประเทศเราก็จะได้รับการแก้ไขดีขึ้น”

อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการวิสาหกิจเพื่อสังคมส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ คือมี SE ถึง 56 % ของที่มีอยู่ทั่วประเทศ แม้ว่าพื้นที่ทำงานของ SE ส่วนหนึ่งจะอยู่ในต่างจังหวัดก็ตาม แสดงว่ากิจการที่เกิดขึ้นโดยคนในท้องถิ่นยังมีน้อย

ขณะเดียวกันข้อมูลการสำรวจของสมาคมธุรกิจเพื่อสังคมระบุว่า SE ยังมีปัญหาและอุปสรรค 3 อันดับแรกคือ
1. สภาพคล่องทางการเงิน
2. การเข้าถึงแหล่งเงินทุน(ทั้งจากนักลงทุนเพื่อสังคมและแหล่งเงินกู้) ขณะที่ตัวผู้ประกอบการ SE ก็ยังไม่ชัดเจนในโมเดลธุรกิจที่จะตอบโจทย์ทางการเงินที่ดีพอ

ข้อคิด…

เพราะสังคมโลกมีการพัฒนาอย่างไม่สมดุล ทำให้เกิดผลพลอยเสียที่สะสมจนถึงขั้นวิกฤตของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ทั้ง ในน้ำ บนดิน และสภาวะอากาศ จนถึงขั้นภาครัฐและภาคเอกชนชั้นนำทั่วโลก พากันขานรับรัฐบาลที่จะร่วมใจแก้ไข 19 ปัญหาที่องค์การสหประชาชาติประกาศเป็นเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน( SDGs)ให้สำเร็จภายในปี 2030

ภาคเอกชนนั้น ธุรกิจทั่วไป ย่อมมีเป้าหมายทางการเงิน คือมุ่งทำกำไร เพื่อเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ ส่วนบทบาทการคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มักเป็นประเด็นเสริมเพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ว่าเป็นกิจการที่ ” เก่งและดี “

แต่ วิสาหกิจเพื่อสังคม มีเป้าหมายหลักคือการแก้ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกิจการในรูปแบบธุรกิจ จึงผนวกเป้าหมายทางการเงิน คือทำให้มีกำไรเพื่อใช้ประโยชน์เพื่อสังคม

ดังนั้นการส่งเสริมให้เกิดพัฒนาการที่ดีของกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคม ภาครัฐและสวส.ต้องสร้างเสริมให้เกิดสภาวะแวดล้อมหรือระบบนิเวศ ที่เอื้อต่อการเกิดและเติบโตของ SE เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีทางสังคม ( Social Enterprise Ecosystem)

0

ภาพจาก : https://pixabay.com

0

เคยมีผลการศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนากิจการเพื่อสังคม ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และกิจการเพื่อสังคม” ไนส์คอร์ป” เสนอว่าปัจจัยสำคัญในการดำเนินการ SE ให้สำเร็จนั้น กวนส่งเสริมประเด็นเหล่านี้

1 ความเป็นผู้ประกอบการสังคม ( Social Entrepreneurship) ผู้นำกิจการ SE ต้องพัฒนาทักษะการบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีกลยุทธ์ พร้อมกับมีความมุ่งมั่นจะแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม

2.พันธกิจเพื่อสังคม( Social Mission) จุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมสังคมที่ดีเป็นประเด็นที่ต้องตระหนักรู้ ในการเริ่มต้นดำเนินงานของ SE

3.นวัตกรรมทางสังคม( Social Innovation ) มีความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาเป็นนวัตกรรมทางสังคม จะเป็นเสมือน”คานงัด” ที่ทำให้SE สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง( Impact) ได้ดีกว่าธุรกิจทั่วไป

4.ความสามารถในการแข่งขัน(Competitiveness) การสร้างผลงานที่มีผลิตภาพ (Productivity)คือมีคุณภาพและประสิทธิภาพ จะช่วยให้ SE โดดเด่นและสามารถแข่งขันได้ จำเป็นต่อการอยู่รอดและเติบโตได้

5.ความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสีย ( Stakeholder Engagement) ความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งกับผู้เกี่ยวข้องทางด้านการจัดการแล้วด้านผู้บริโภค จะได้ข้อมูลและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบในการดำเนินงาน

6.ความเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมของสังคม ( Social Ownership) เมื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรู้สึกมีความเป็นเจ้าของSEและทำให้ชุมชนหรือสังคมมีส่วนร่วม ก็จะได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย

7.ความสามารถในการขยายกิจการ (Scalability) สร้างความพร้อมในการบริหารเพื่อการขยายกิจการทางด้านธุรกิจและบทบาทการเปลี่ยนแปลงสังคมที่ดีขึ้น

8.ผลสัมฤทธิ์ทางสังคม( Social Impact) ประเมินได้จากการแก้ไขประเด็นปัญหาทางสังคมจะกลายเป็นการเปลี่ยนแปลง (Impact)ที่มีความยั่งยืน

0

ภาพจาก : https://pixabay.com

0

สรุปแล้ว S E N เป็นกลไกลูกผสมระหว่างความคิดเชิงอุดมคติทีjจะแก้ปัญหาหรือช่วยเหลือสังคม ซึ่งในรูปแบบมูลนิธิเคยทำมา แต่เมื่อผนวกเข้ากับรูปแบบเชิงธุรกิจพี่แสวงหากำไรอย่างสร้างสรรค์เพื่อเอาไปทำประโยชน์แก่สังคม

ยิ่งกระแสคนรุ่นใหม่ที่อยากทำธุรกิจสนองความฝันตัวเอง ในการทำกิจการที่มีความหมาย มีคุณค่าต่อสังคม ช่องทางนี้คือคำตอบ อาจเป็น Start-up แนว วิสาหกิจเพื่อสังคมยุคดิจิทัลที่ สร้างทั้งคุณค่าและมูลค่าได้ดี อย่างที่มีSEเท่ๆอย่าง “รีคัลท์”ใช้ภาพถ่ายดาวเทียมช่วยเกษตรกรวางแผนการผลิตหรือ”อรินแคร์” จัดการระบบออนไลน์ ช่วยผู้ป่วยไม่่ต้องรอยาทีโรงพยาบาลรัฐนานมาก สามารถไปรับทีร้าน เป็นต้น

0

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://mgronline.com