NIA ได้จัดทำ ‘รายงานการพัฒนาระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นประเทศไทย ประจำปี 2564’ ซึ่งจะนำเสนอข้อมูลภาพรวมภูมิทัศน์ของระบบนิเวศสตาร์ทอัพในปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ ให้มีความสามารถในการประกอบธุรกิจรวมถึงแข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีระบบนิเวศสตาร์ทอัพ (Startup Ecosystem) ที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจมากขึ้น เพื่อเร่งสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ที่ใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ
จากรายงานการพัฒนาระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นประเทศไทย ประจำปี 2564ได้สำรวจสถานการณ์และอุปสรรคของการดำเนินธุรกิจ Startup ผ่านการประชุมเครือข่าย (Focus Group) ร่วมกับผู้ที่่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทยจำนวน 105 ราย และเปิดรับฟังความเห็นเพิ่มเติม (Town Hall & Networking) จากประชาคมจำนวน 425 ราย จาก 5 กลุ่มสำคัญอันได้แก่ 1) กลุ่ม Startup ไทย 2) กลุ่ม Startup ต่างชาติ 3) กลุ่มนักลงทุน 4) กลุ่มภาคการศึกษา และ 5) กลุ่ม ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่น ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (Incubator & Accelerator) มีการประชุมหารือจำนวนรวมกันกว่า 8 ครั้ง โดยประเด็นการหารือแบ่งออกเป็น
4 ประเด็น สำคัญพบว่า
ความพร้อมของกำลังคน (Manpower Readiness) พบว่า ทีมผู้ก่อตั้งบริษัท Startup ส่วนใหญ่ยังขาดความหลากหลายของทักษะในการบริหารองค์กร จากผลสำรวจจากรายงานชี้ให้เห็นว่า 1 ส่วน 3 ของทีมผู้ก่อตั้งจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านวิศวกรรม อุตสาหกรรม และการก่อสร้าง จึงทำให้ขาดทักษะการบริหารด้านบุคลากร ด้านการเงินและการบัญชีอีกทั้งแรงงานที่มีี ทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Talent) ในตลาดแรงงานของประเทศไทยยังมีจำนวนไม่เพียงพอที่จะขับเคลื่อนระบบนิเวศวิสาหกิจเริ่มต้นของประเทศไทย
แหล่งเงินทุน (Source of Funding) พบว่า ทีมผู้ก่อตั้งบริษัท Startup ส่วนมากยังไม่มีการวางแผนทางการเงิน และแผนการดำเนินธุรกิจ (Business Model) ที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการประเมินมูลค่าบริษัทในระยะยาว (Valuation) เพื่อขอระดมทุนจากกลุ่มนักลงทุนในอัตราที่มีีผลสำเร็จนัก ในขณะที่บรรยากาศการลงทุนในธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทยยังไม่น่าสนใจ ขาดความคึกคักเมื่อเทียบกับต่างประเทศชั้นแนวหน้า รวมทั้งยังขาดการให้เงินทุนสำหรับ Early Stage Startup เพราะเน้นลงทุนใน Growth Stage มากกว่า โดยเฉพาะกับธุรกิจบางสาขาที่่ไม่่เป็นที่นิยม มักไม่ได้มีนักลงทุนรองรับในอุตสาหกรรมเหล่านั้น เช่น สาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกี่ยวกับดนตรีศิลปะ และนันทนาการ (MAR Tech) หรือสาขาเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech) รวมถึงผู้ประกอบการ Startup ก็ไม่สามารถเข้าถึงวงเงินกู้้ ของธนาคารพาณิชย์เพื่อมาต่อยอดธุรกิจได้้
การหากลุ่มลูกค้าและการขยายธุรกิจ (Growth & Scalability) พบว่า เนื่องด้วยสถานการณ์วิกฤตโรคระบาด COVID-19 ส่งผลให้ทีมผู้ก่อตั้งบริษัท Startup ส่วนใหญ่ขาด ประสบการณ์การติดต่อกับกลุ่มลูกค้าระดับองค์กรขนาดใหญ่ รวมถึงอาจต้องพิจารณาด้านการวางแผนทางการเงิน (Cash Runway) เพิ่มเติม ซึ่งสัมพันธ์การด้านการระดมทุนที่ต้องวางแผนการใช้จ่ายเงินทุนเพื่อเตรียมการขยายธุรกิจให้เติบโตขึ้น และ ประเด็นสุดท้าย พบว่าตลาดของประเทศไทยที่มีประชากรเพียง 66 ล้านคนอาจไม่เพียงพอสำหรับการเติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะธุรกิจในลักษณะ B2C ผู้ประกอบการ Startup จึงต้องมองหาโอกาสการขยายธุรกิจไปยังนานาชาติควบคู่ไปด้วย
การสนับสนุนจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระบบนิเวศ (Support from Government & Partners) พบว่า ภาครัฐควรมีนโยบายเพื่อผลักดันให้บริษัท Startup สามารถเป็นผู้้ประกอบการในระดับภูมิภาค (Regional Player) อย่างชัดเจน โดยอาจนำ โครงการที่แต่่ละหน่วยงานจัดขึ้นมาบูรณาการร่วมกัน เป็นแผนแม่บทเส้นทาง
การพัฒนาผู้ประกอบการ ตั้งแต่่ขั้นแนวคิดการทำธุรกิจจนกระทั่งการขยายธุรกิจ และประสบความสำเร็จในเวทีโลก นอกจากนี้พบว่าทุนสนับสนุนจากภาครัฐในปัจจุบันอาจยังไม่่ครอบคลุมครบถ้วนในทุกกลุ่มสาขาอุตสาหกรรม รวมถึงยังพบประเด็นด้านการบริหารจัดการอย่างเกณฑ์คุณสมบัติิในการรับทุน และการจัดจ้างที่่ไม่่เอื้อต่อรููปแบบการทำธุรกิจ Startup โดยเฉพาะข้อกำหนดการเบิกจ่ายเพื่ออนุมัติเงินทุน และท้ายที่สุดยังคงเป็นประเด็นในด้านระบบราชการไทยที่ยังมีขั้นตอนการดำเนินเอกสารจำนวนมาก ซึ่งธุรกิจสมัยใหม่อย่าง Startup จำเป็นที่่จะต้องใช้ความรวดเร็วในการดำเนินงานในยุคโลกาภิวัตน์